จดทะเบียนบริษัท คืออะไร? จำเป็นกับแค่ไหนกับธุรกิจของเรา

26 ส.ค. 2024
การจดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท คือ การจดทะเบียนเพื่อขอให้บริษัทเป็นนิติบุคคล ช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถทำธุรกรรมทางการเงิน และสัญญาต่าง ๆ ได้อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้การจดทะเบียนบริษัทยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทในสายตาของคู่ค้าและลูกค้า รวมถึงจะทำให้เราเสียภาษีน้อยลงจากเดิมที่เราเป็นบุคคลธรรมดาอีกด้วย

2 ประเภทของการจดทะเบียนบริษัท

เมื่อต้องการจดทะเบียนบริษัทควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนว่าการจดทะเบียนบริษัทมีกี่แบบ? และแบบไหนที่เหมาะกับธุรกิจของเรา โดยการจดทะเบียนบริษัทนั้นมี  2 ประเภท ดังนี้ 

1. จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา)

เป็นการจดทะเบียนบริษัทของกิจการที่มีผู้ประกอบการเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว คิดเอง ทำเอง มีอิสระและสามารถตัดสินใจทุกอย่างเกี่ยวกับกิจการได้เต็มที่ และการันตีว่าเราทำธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยการจดทะเบียนพาณิชย์จะเหมาะกับกิจการขนาดเล็กที่ขายสินค้าหรือบริการง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก 

2. จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนนิติบุคคล

เป็นการจดทะเบียนบริษัทของกิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน การกระทำทุกอย่างจะเป็นไปในนามกิจการทั้งหมด โดยการจดทะเบียนนิติบุคคลมี 3 ประเภทแบ่งตามการรับผิดชอบหนี้สิน ดังนี้

  • บริษัทจำกัด (Limited Company) บริษัทจำกัดเป็นรูปแบบธุรกิจที่นิยมใช้กันมากที่สุดในประเทศไทย บริษัทจำกัดมีลักษณะคือมีหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 3 คน และแต่ละคนมีความรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินที่ลงทุนในหุ้นเท่านั้น บริษัทจำกัดสามารถระดมทุนได้จากการขายหุ้น และมีโครงสร้างการบริหารจัดการที่ชัดเจน มีการประชุมผู้ถือหุ้นและการจัดทำงบการเงินที่โปร่งใส
  • บริษัทมหาชนจำกัด (Public Limited Company) บริษัทมหาชนจำกัดมีลักษณะคล้ายกับบริษัทจำกัด แต่มีขนาดใหญ่กว่า และสามารถเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปได้ บริษัทมหาชนจำกัดต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 15 คน และต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเป็นบริษัทมหาชน เช่น การเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน การประชุมผู้ถือหุ้น และการตรวจสอบบัญชี
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นรูปแบบธุรกิจที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนสองประเภท คือ หุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบ ต้องรับผิดชอบทรัพย์สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วน และหุ้นส่วนจำกัดมีความรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินที่ลงทุน มีโครงสร้างการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นและง่ายต่อการจัดตั้ง

9 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทมีอะไรบ้าง?

 

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

 

ซึ่งเราได้เห็นกันแล้วว่าการจดทะเบียนบริษัทนั้นอย่างไร และธุรกิจของเราเหมาะกับที่จะจดทะเบียนบริษัทแบบไหน สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเราไปดูขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทกันดีกว่ามีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ดังนี้

  1. เตรียมเอกสารสำหรับการจดทะเบียน เช่น แบบคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด, แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด, หนังสือบริคณห์สนธิ, รายการจดทะเบียนจัดตั้ง, แบบวัตถุประสงค์, แบบรายละเอียดกรรมการ และแบบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เป็นต้น โดยให้ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ส่วนเอกสารประจำตัวผู้ถือหุ้นสามารถลงชื่อด้วยตัวเองได้เลย
  2. ตั้งชื่อและจองชื่อบริษัท ควรตั้งชื่อโดยหลีกเลี่ยงคำที่ทำให้เข้าใจผิด โดยไม่ใช้พระนามของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์ปัจจุบัน ไม่ใช่ชื่อประเทศ ไม่ใช้ชื่อกระทรวง ทบวง กรม ไม่ใช่ชื่อส่วนของราชการ  และต้องตรวจสอบว่าชื่อบริษัทที่ต้องการจองไม่ซ้ำกับชื่อบริษัทอื่นที่มีอยู่แล้ว
  3. ทำหนังสือบริคณห์สนธิ หนังสือแสดงความต้องการจัดตั้งบริษัทที่ต้องใช้ยื่นต่อนายทะเบียน โดยต้องยื่นภายในระยะเวลาไม่เกิน 30 วันหลังจากที่นายทะเบียนได้ลงชื่อบนเอกสาร ในหนังสือบริคณห์สนธิจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท เช่น ชื่อของบริษัท (ที่ได้จองไว้) ที่อยู่ของบริษัท วัตถุประสงค์ ทุนจดทะเบียน และรายชื่อผู้ถือหุ้น เป็นต้น
  4. นัดประชุมผู้ถือหุ้น เปิดให้จองหุ้นและออกหนังสือเพื่อทำการนัดประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัทอีกครั้ง เพื่อทำการจดทะเบียนบริษัทอย่างเป็นทางการ โดยกำหนดการประชุมจะจัดหลังออกหนังสืออย่างน้อย 7 วัน
  5. จัดประชุมเพื่อจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท จัดการประชุมเพื่อให้เข้าใจข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ของบริษัทร่วมกันไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท การเลือกตั้งคณะกรรมการบริษัทและอำนาจของคณะกรรมการ การเลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาต การรับรองสัญญาที่ผู้ก่อตั้งทำขึ้นก่อนการจดทะเบียนบริษัท กำหนดค่าตอบแทนแก่ผู้ริเริ่ม กิจการหรือผู้ก่อตั้ง รวมถึงกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ 
  6. จัดตั้งคณะกรรมการบริษัท  การประชุมจัดตั้งกรรมการบริษัท เพื่อมาทำหน้าที่แทนผู้ก่อตั้งและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในนามบริษัท ด้วยการทำหน้าที่เก็บเงินชำระค่าหุ้นอย่างน้อย 25% ของราคาหุ้นจริง เมื่อเก็บครบแล้วจะทำการยื่นขอจดทะเบียนบริษัท โดยต้องยื่นภายใน 3 เดือนหลังจากที่มีการประชุมจัดตั้งเท่านั้น หากล่าช้าจะถือว่าการประชุมเป็นโมฆะและต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นใหม่อีกครั้ง
  7. ชำระค่าธรรมเนียม มาถึงขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทที่สำคัญมากซึ่งใกล้เสร็จสิ้นกระบวนทั้งหมดแล้วนั่นก็คือการชำระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทนั่นเองซึ่งค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระทั้งหมด ในการจดทะเบียนบริษัทจำกัด 
  8. รอการตรวจสอบและอนุมัติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะตรวจสอบเอกสารและข้อมูลที่ยื่นคำขอ และหากข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง จะอนุมัติการจดทะเบียนบริษัท
  9. รับใบจดทะเบียนบริษัท เมื่อได้รับอนุมัติแล้วบริษัทสามารถขอรับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทได้ที่นายทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในพื้นที่ที่อาศัยอยู่หรือสำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด 

จดทะเบียนบริษัทช่องทางไหนได้บ้าง?

 

จดทะเบียนบริษัทช่องทางไหนได้บ้าง.webp

 

การจดทะเบียนบริษัทสามารถทำได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ทั้งออนไลน์หรือจะไปดำเนินการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็ได้ ซึ่งช่องทางการจดทะเบียนบริษัทในปัจจุบันมี ดังนี้

  • จดทะเบียนออนไลน์ ผ่านระบบ e-Registration ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า การจดทะเบียนออนไลน์เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็ว สามารถกรอกข้อมูลและอัพโหลดเอกสารผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงาน
  • จดทะเบียนที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้ประกอบการสามารถเดินทางไปยื่นเอกสารและคำขอจดทะเบียนบริษัทที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าในจังหวัดต่างๆ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำและตรวจสอบเอกสาร
  • ผ่านบริการของบริษัทรับจดทะเบียน บริษัทรับจดทะเบียนมีบริการครบวงจรในการจัดทำเอกสารและดำเนินการแทนผู้ประกอบการ ช่วยลดความยุ่งยากในการเตรียมเอกสารและการดำเนินการ
  • ผ่านสำนักงานบัญชีหรือทนายความ สำนักงานบัญชีและทนายความมีบริการช่วยเหลือในการจดทะเบียนบริษัทและให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการคำแนะนำและความช่วยเหลือในการจดทะเบียนบริษัท

การจดทะเบียนบริษัทเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำ และไม่ได้ยุ่งยากแบบที่หลายคนคิด เพียงแต่ต้องศึกษาขั้นตอนการจดทะเบียนและเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม และทำตามขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทได้เลย

หากคุณกำลังมองหาออฟฟืศใจกลางเมือง เดินทางสะดวก มีบริการครบครัน ติดต่อเราเพื่อรายละเอียดและรับข้อสเนอที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

ติดต่อเรา
จองคิวเยี่ยมชม